
7 Mindsets การจัดการองค์กรในสภาวะวิกฤติ
กรอบความคิด หรือ Mindset ที่สำคัญ 7 ประการเพื่อจัดการองค์กรในสภาวะวิกฤติ โดยหวังว่าองค์กรและผู้ประกอบการต่างๆ จะได้ใช้เป็นแนวทางในการรับมือและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ผ่านพ้นไป และเตรียมความพร้อมในการอยู่รอดและเติบโตต่อไปในอนาคตอีกด้วย
.

การเป็นผู้นำในภาวะปกตินั้นไม่ได้ง่ายนักอยู่แล้ว ยิ่งในภาวะวิกฤติ ผู้บริหารหรือหัวหน้ายิ่งพบกับความยากลำบากในการรับมือกับความผันผวนของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน แรงกดดันจากปัจจัยภายนอกองค์กรและปัจจัยภายในองค์กร ทำให้ผู้นำต้องดึงศักยภาพและใช้กลยุทธ์ วิธีการที่มีประสิทธิผลมาใช้เพื่อนำพาองค์กรกรให้ผ่านพ้นวิกฤติไปได้
.

กลยุทธ์การจัดการปรกติใหม่ในองค์กร
หลังผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 องค์กรมีการปรับเปลี่ยนหลายอย่างไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “ปรกติใหม่ (New Normal)” การเปลี่ยนผ่านแต่ละครั้งย่อมมีประเด็นให้ต้องคิดและตัดสินใจเพราะเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ ทรัพยากร และความยั่งยืนขององค์กรต่อไป ในครั้งนี้ก็เช่นกัน ยังมีโจทย์อีกหลายประการที่องค์กรจะต้อง “เลือก” และ “ตัดสินใจ” ว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร และจะทำให้รอยต่อของการเปลี่ยนแปลงมีความลื่นไหลได้อย่างไร
.

Project Management ทักษะความจำเป็นสำหรับผู้นำในอนาคต
หลายทศวรรษที่ผ่านมา มีการนำแนวคิดการบริหารโครงการ หรือ Project Management มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและโอกาสในความสำเร็จของงานโครงการหลายวงการ ปัจจุบันก็มีการใช้หลักการการบริหารโครงการอย่างแพร่หลายในหน่วยงานต่างๆ เกือบทุกองค์กร โดยผู้ใช้งานไม่เพียงแต่จะได้ประโยชน์เฉพาะในภาวะปกติ แม้กระทั่งในช่วงสภาวะวิกฤติยังสามารถนำมาใช้ เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
.

พลิกวิกฤติเป็นโอกาสด้วยความฉลาดเชิงกลยุทธ์
“ทุกวิกฤติมีโอกาส” เช่นเดียวกับวิกฤติโควิด-19 ซึ่งได้ให้บทเรียนมากมายแก่มนุษยชาติ ท่ามกลางความโกลาหล ความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคม ในขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสไว้อย่างมากมาย หลายธุรกิจแม้จะได้รับผลกระทบแต่เมื่อพิจารณาในเชิงลึกจะพบว่าวิกฤติกลับมีข้อดีอย่างมากเช่นกัน ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ให้กลับมาทบทวน ตั้งสติและตั้งหลักใหม่ที่จะเติบโตอย่างก้าวหน้าใน “โลกยุคใหม่” ทั้งนี้ ต้องสามารถนำข้อดีหรือโอกาสเหล่านั้นมาสร้างประโยชน์และสร้างความแข็งแกร่งให้กับตนเองผ่านการกำหนดกลยุทธ์ที่ถูกต้อง
.

การบริหารทรัพยากรบุคคลในความปรกติใหม่
ทรัพยากรมนุษย์หรือทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าขององค์กร เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ในช่วงสภาวะวิกฤติจนกระทั่งผ่านพ้นวิกฤติเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างในสังคมที่เรียกว่าความปรกติใหม่ (New Normal) สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรในรูปแบบใหม่ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง แต่ยังคงความสามารถทางการแข่งขันเท่าเดิมหรือยกระดับความสามารถทางการแข่งขันเพิ่มขึ้นด้วยการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการใช้ประโยชน์ของช่องทางออนไลน์
.

การประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบในสภาวะวิกฤติ
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรอบตัวเราตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง จากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ ความเข้าใจที่ท่านมีต่อลูกค้าในวันนี้ อาจจะใช้ไม่ได้กับลูกค้าของท่านในวันพรุ่งนี้ การทำความเข้าใจความต้องการ ปัญหา และความรู้สึกของลูกค้าให้มากที่สุดจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้ดีที่สุดและสร้างความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจได้ Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบจึงเป็นกระบวนการแก้ไขปัญหาในทุกๆ อุตสาหกรรมด้วยความพยายามเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า