การจัดการองค์กรในสภาวะวิกฤติ โดย คุณสมนึก โอวุฒิธรรม CEO Lekise Lighting Co., Ltd.
กลยุทธ์การบริหารองค์กรในสภาวะวิกฤต คือ การเตรียมความพร้อมขององค์กรตลอดเวลา หากเราคิดว่าจะเจอวิกฤติไม่ว่าด้านใดก็ตาม แล้วเราพร้อมรับมือในทุกๆ ด้าน แม้ว่าจะเกิดวิกฤตขึ้นมาจริงๆ เราก็ได้รับผลกระทบไม่มากนัก แต่ถ้าเราไม่พร้อม เวลาที่เกิดวิกฤตแล้วค่อยมาแก้ไขปัญหา เราจะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ค่อนข้างยาก และเชื่อว่า ทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส สังเกตได้จากทุกวิกฤตจะมีบางองค์กรคว้าโอกาสได้อยู่เสมอ เพราะองค์กรนั้นมีความพร้อมมากกว่าองค์กรอื่น
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
การบริหารองค์กรเพื่อรับมือสภาวะวิกฤตว่า ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต่างๆ เช่น วิกฤตต้มยำกุ้ง องค์กรต่างให้ความสำคัญกับการลดค่าใช้จ่าย รวมถึงปรับเปลี่ยนอีกหลายอย่างมากกมาย
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
“แล้วทำไมเราต้องรอให้เกิดวิกฤตขึ้นก่อน ถึงค่อยปรับตัว”
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
หากมีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างองค์กร การพัฒนาบุคลากร การพัฒนานวัตกรรมสินค้าในอนาคต การบริหารจัดการต้นทุน เมื่อเกิดวิกฤต องค์กรของเราก็จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าองค์กรอื่นๆ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
การที่ทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่า การแข่งขันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ หรือโรคภัยต่างๆ รวมถึงวิกฤตจาก Life Cycle ของสินค้าแต่ละชนิดเอง เห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงของโทรทัศน์ในอดีตจากจอแบบ CRT จนกระทั่งปัจจุบันเป็นจอแบบ LED สิ่งเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการได้มาซึ่งสินค้าอย่างมาก ทั้งเทคโนโลยี วัตถุดิบ หรือกระบวนการผลิต
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตัวอย่างของบริษัท เลคิเซ่ นั้น เรามีการวางแผนคิดค้นหลอดไฟแบบ LED เมื่อ 10 ปีที่แล้วเพราะมีคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งเลคิเซ่เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านหลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนต์ แต่ในปัจจุบันมีสัดส่วนการผลิตเพียง 20% เท่านั้นและหันไปผลิตหลอดไฟประเภทอื่นเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้คือ การเตรียมความพร้อมของเลคิเซ่ การเตรียมความพร้อมบางอย่างไม่ได้ใช้เวลาเพียง 1 ปี หรือ 6 เดือน แต่อาจจะใช้เวลาเตรียมการมากถึง 10 ปี
……………………………………………………………………
……………………………………………………………………
“สิ่งที่เลคิเซ่ใช้เวลาเตรียมความพร้อมมากที่สุด คือ โครงสร้างองค์กรในอนาคต เพราะสิ่งที่หาไม่ได้จากเทคโนโลยี คือ คนที่เหมาะสมกับองค์กรในแบบที่คุณต้องการ”
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
ถ้าเราต้องการปรับ แต่ไม่มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานส่วนนั้น เราก็ไม่สามารถดำเนินการได้ นั่นหมายความว่า เราก็ไม่รอดพ้นจากวิกฤตได้ ดังนั้น การเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต คือ เราจะต้องมีความพร้อมในทุกๆ ด้านเพื่อความอยู่รอดขององค์กร แต่จะทำได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการประยุกต์ใช้ โดยการปรับตัวตลอดเวลา คือ สิ่งที่จะทำให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปได้ทุกยุคทุกสมัย เพราะในอนาคตข้อมูลข่าวสารจะรวดเร็วขึ้น สิ่งที่เราสามารถทำได้ในปัจจุบัน คู่แข่งหรือองค์กรอื่นๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นเราจะต้องพัฒนาและปรับตัวเองให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
สิ่งเดียวที่เราจะได้เปรียบมากกว่าคนอื่น คือ การเริ่มต้นก่อน และสิ่งหนึ่งที่ซื้อไม่ได้ คือ เวลา ผู้ใดเริ่มก่อนแล้วเสร็จก่อน คือ ผู้อยู่รอด โดยการอยู่รอดเกิดจากการเตรียมความพร้อมและมีเวลาที่เหมาะสม เพราะการจะอยู่รอดแบบผู้ที่ได้โอกาสที่ดีก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละองค์กรเช่นเดียวกัน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
