STECO Journal

Journal for Strategy and Enterprise Competitiveness

ข้อมูลเกี่ยวกับวารสาร

วารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร เป็นวารสารด้านการบริหารธุรกิจของศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

วารสารฯ ประสงค์รับพิจารณาบทความวิจัย (Research Articles) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการบริหารองค์กร การจัดการกลยุทธ์และการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอบทความคุณภาพที่สามารถแสดงถึงประโยชน์ในเชิงทฤษฎี เพื่อที่นักวิจัยสามารถนำไปพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ และเป็นประโยชน์ในเชิงปฏิบัติที่นักปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในการบริหารองค์กร หรือบริหารธุรกิจ ดังนั้น บทความที่จะได้รับลงตีพิมพ์จะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง และจะต้องเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพในทางวิชาการและประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น

ขอบเขตของวารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร (STECO Journal) ครอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารองค์กร และธุรกิจในสาขาต่างๆ โดยบทความนั้นแสดงให้เห็นถึงความสร้างสรรค์องค์ความรู้ทางวิชาการที่มีประโยชน์และน่าสนใจ โดยจะครอบคลุมเนื้อหา ดังนี้

  • การจัดการเพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขัน
  • การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
  • การจัดการเชิงกลยุทธ์
  • การบริหารธุรกิจ
  • การตลาด
  • อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

Objectives

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยในลักษณะบทความวิจัย และบทความวิชาการ ในสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการบริหารองค์กร การจัดการกลยุทธ์และการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. เพื่อเป็นสื่อกลางรายงานความก้าวหน้า ความเคลื่อนไหว และเป็นการบริการวิชาการแก่สังคมในการแลกเปลี่ยนแนวความคิดของการวิจัยให้เกิดการต่อยอด และพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง
  3. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการอภิปรายประเด็นและปัญหาด้านการบริหารองค์กร การจัดการกลยุทธ์และการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน

Publishing Schedule

กำหนดการตีพิมพ์

วารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ ได้แก่

  • ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน
  • ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม
  • ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม

ซึ่งในแต่ละฉบับจะตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความวิชาการ ฉบับละ 5 – 6 บทความ

กองบรรณาธิการวารสาร

ที่ปรึกษา

รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
รศ.เอนก ศิริพานิชกร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

บรรณาธิการ

ผศ.ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

กองบรรณาธิการ

ศ. ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
รศ. ดร.ขวัญกมล ดอนขวา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
รศ. ดร.พัทรียา หลักเพ็ชร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
รศ. ดร.วรรณภา ตระกูลเกษมสุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รศ. ดร.สุจินดา โพธิ์ไพฑูรย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รศ. ดร.สุรพล บุญลือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รศ. ดร.สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รศ. ดร.อำพล การุณสุนทวงษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผศ. ดร.ธนพล วีราสา มหาวิทยาลัยมหิดล
ผศ. ดร.วัชรพล สุขโหตุ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผศ. ดร.รังสรรค์ เกียรติ์ภานนท์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ดร.ดั้นดุสิต โปราณานนท์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

เวทยา ใฝ่ใจดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ลักษิกา โปธาสินธุ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ

ผศ. ดร.นิภา นิรุตติกุล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
ผศ. ดร.วราภรณ์ ตั้งจิตรเจริญ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
ผศ. ดร.ศิรินุช อินละคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
ผศ. ดร.ไตรรงค์ สวัสดิกุล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ดร.จอมภัค จันทะคัต มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
ดร.สุขุมาล เกิดนอก มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
ผศ. ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผศ. ดร.พรรษา เอกพรประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผศ. ดร.มงคล อัศวดิลกฤทธิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผศ. ดร.อรพดี จูฉิม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ดร.สุกฤตา ปรีชาว่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ผศ. ดร.สมคะเน ยอดพราหมณ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ดร.อานนท์ ฝึกฝน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ผศ. ดร.ชนิศา มณีรัตนรุ่งโรจน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
รศ. ดร.เชิดศักดิ์ สุขศิริพัฒนพงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ผศ. ดร.ระบิล พ้นภัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ผศ. ดร.พรทิพย์ รอดพ้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ดร.ภาคภูมิ หมีเงิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ดร.สุกานดา กลิ่นขจร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ดร.ธนพงษ์ จำปาหอม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ดร.นรรัฐ รื่นกวี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ผศ. ดร.ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ
อาจารย์ชนิกานต์ กมลสุข สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ผศ. ดร.สุชีรา ธนาวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ผศ. ดร.นุชจรี ภักดีจอหอ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
อาจารย์รัญชิดา ดาวเรือง มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
อาจารย์ธมนวรรณ์ เฟื่องประยูร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ส่งบทความ

คำแนะนำสำหรับผู้ประสงค์ส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร

คำแนะนำทั่วไป

  1. ผลงานที่ส่งตีพิมพ์จะต้องไม่ได้รับการเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
  2. ต้นฉบับต้องผ่านการกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
  3. ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร

กระบวนการพิจารณากลั่นกรองบทความ

บทความที่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฯ จะต้องผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีกระบวนการดังต่อไปนี้

  1. กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้ส่งบทความทราบเมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความที่เรียบร้อย สมบูรณ์ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  2. กองบรรณาธิการจะตรวจสอบหัวข้อและเนื้อหาของบทความถึงความเหมาะสมและความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสารฯ รวมถึงประโยชน์ในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ
  3. กรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรรับบทความไว้พิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่านต่อ 1 บทความ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทความว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์หรือไม่ และผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 2 ท่าน จะไม่อยู่ในหน่วยงานสังกัดเดียวกับผู้ส่งบทความ โดยในกระบวนการพิจารณากลั่นกรองนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบถึงข้อมูลของผู้ส่งบทความและผู้ส่งบทความจะไม่ทราบข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิเช่นกัน (Double-Blind Process)
  4. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณากลั่นกรองบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะพิจารณาตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิว่าบทความนั้น ๆ ควรได้รับการตีพิมพ์ (Accept) ควรส่งกลับให้กับผู้ส่งบทความเพื่อแก้ไขก่อนพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง (Revise) หรือปฏิเสธการลงตีพิมพ์ (Reject)

ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ในวารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

บทความ ข้อมูล เนื้อหา และรูปภาพ ฯลฯ ในวารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีก่อนเท่านั้น

ข้อกำหนดของบทความต้นฉบับ

บทความที่ส่งมาเพื่อขอพิจารณาการตีพิมพ์ต้องเป็นงานวิชาการด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันและอยู่ในขอบเขตเนื้อหาที่วารสารกำหนด ผู้ส่งบทความควรตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์ต้นฉบับ เช่น ตัวสะกด วรรคตอน ความเหมาะสมของการใช้ภาษา เป็นต้น โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้

  1. ชื่อ-นามสกุล และสถานที่ทำงานหรือสถานศึกษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ของผู้ส่งบทความครบถ้วนทุกท่าน
  2. ชื่อของบทความ ควรจะมีความกระชับและได้ใจความชัดเจนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  3. กำหนดให้ใช้ฟอนท์ TH SarabunPSK ขนาด 16 พอยท์ สำหรับบทความภาษาไทยและบทความภาษาอังกฤษ (สามารถใช้ตัวหนาสำหรับหัวข้อเรื่องได้)
  4. ความยาวของบทความ 10 – 15 หน้ากระดาษ A4 ระยะบรรทัด 1 เท่า (Single Space) พร้อมระบุเลขหน้า ใส่เลขบรรทัด ตั้งระยะขอบซ้าย ขอบบน ขอบล่าง และขอบขวา เท่ากับ 1 นิ้ว
  5. ผู้ส่งบทความจะต้องเขียนการอ้างอิงเอกสารตามรูปแบบของ APA 6th ให้ถูกต้องอย่างเคร่งครัด
  6. องค์ประกอบของบทความควรมีดังต่อไปนี้ (สามารถมีหัวข้อเพิ่มเติมที่แตกต่างได้)
  • ชื่อเรื่องบทความ (Title) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ตัวหนาขนาด 18 พอยท์)
  • บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ภาษาละไม่เกิน 350 คำ
  • คำสำคัญ (Key word) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 5 คำ
  • บทนำ (Introduction)
  • วัตถุประสงค์การวิจัย (Objectives)
  • การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review)
  • วิธีการวิจัย (Research Methodology)
  • ผลการวิจัย (Research Finding)
  • อภิปรายและสรุปผลการวิจัย (Discussion/Conclusion)
  • ข้อเสนอแนะการวิจัย (Research Suggestions)
  • รายการอ้างอิง (References) ตามรูปแบบ APA 6th

วารสารกลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร

ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

โทรศัพท์: 02-470-9643, 064-138-9000

อีเมล์: steco.journal@kmutt.ac.th